บทที่ 4 ธรณีประวัติ

ที่ 4 ณีวัติ

ข้อมูลทางธรณีวิทยาอธิบายความเป็นมาของพื้นที่ในอดีต ที่นิยมใช้มี 3 อย่าง ดังนี้
 

อายุทางธรณีวิทยา
ซากดึกดำบรรพ์
ลำดับชั้นหิน


อายุทางธรณีวิทยา

1. อายุเทียบสัมพันธ์ คือ อายุเปรียบเทียบ หาได้โดยอาศัยข้อมูลจากซากดึกดำบรรพ์ที่ทราบอายุแล้วนำมาเปรียบเทียบกับช่วง เวลาทางธรณีวิทยาที่เรียกว่า ธรณีกาล จะบอกได้ว่าเป็นหินในยุคไหนหรือมีช่วงอายุเป็นเท่าใด

2. อายุสัมบูรณ์ เป็นอายุของหินหรือซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถบอกเป็นจำานวนปีที่ค่อนข้างแน่นอน คำนวณจากครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ในหิน เช่น C-14, K-40, Rb-87, U-238 เป็นต้น
หินที่มีอายุมากเป็นแสนเป็นล้านปี เช่น หินแกรนิตบริเวณฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต ซึึ่งเป็นหินต้นกำเนิดแร่ดีบุก จะใช้ Rb-87ตะกอนหรือซากดึกดำาบรรพ์ที่มีอายุน้อยกว่า 70,000 ปี จะใช้วิธีกัมมันตภาพรังสี C-14 เช่น ซากหอย-นางรมที่วัดเจดีย์หอย จังหวัดปทุมธานี



ซากดึกดำาบรรพ์(fossil)
• ซากดึกดำบรรพ์เป็นซากพืชซากสัตว์ที่ตายทับถมอยู่ในชัั้นหินตะกอนแล้วเปลี่ยนเป็นหิน
• ซากดึกดำบรรพ์บางชนิดปรากฏให้เห็นเป็นช่วงสั้นๆ ดังนั้นสามารถใช้บอกอายุของหินที่มีซากนั้นอยู่ได้ ซากดึกดำบรรพ์ประเภทนีี้เรียก ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี
• ซากดึกดำาบรรพ์ดัชนี คือ ซากดึกดำาบรรพ์ที่บอกช่วงอายุได้แน่นอน และปรากฏให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์ นักธรณีวิทยาจะนิยมใช้วิธีนี้หาอายุของหินตะกอน

• ประเทศไทยพบซากดำบรรพ์ดัชนี ไทรโลไบต์ บริเวณเกาะตะรุเตา แกรปโตไลต์ อำเภอฝาง เชียงใหม่ เป็นต้น

ซากดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย
• มีการค้นพบซากไดโนเสาร์ บริเวณ อ.ภูเวียง จังหวัดขอนแก่นเป็นไดโนเสาร์กินพืช บริเวณภูกุ้มข้าว อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์
• ซากดังกล่าวจะพบในหินทราย หินทรายแป้ง ซึ่งเป็นหินชนิดหนึ่งในหินตะกอน
• ซากดึกดำาบรรพ์พืชที่พบในไทย ได้แก่ ใบไม้ ละอองเรณู สปอร์สาหร่ายทะเล และไม้กลายเป็นหิน
• ความเปลี่ยนแปลงของชนิดซากดึกดำบรรพ์สามารถนำมาจัดอายุทางธรณีวิทยาได้ เรียกว่า “ธรณีกาล”(Geologic Time)


การลำดับชั้นหิน
      เนื่องจากชั้นหินเกิดจากการทับถมกันของตะกอน ดังนัั้นหินตะกอนที่อยู่ด้านล่างจะเกิดก่อน และหินที่อายุน้อยกว่าจะซ้อนอยู่ด้านบนเป็นชั้นๆ ตามลำดับ




















การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี แผ่นดินไหว หรือ ภูเขาไฟระเบิด ทำให้ชั้นหินที่อยู่ในแนวราบเกิดการเอียงเท
โครงสร้างทางธรณีวิทยาในชั้นหิน เช่น รอยเลื่อน รอยคดโค้งสามารถอธิบายประวัติความเป็นมาของพืื้นที่นัั้นได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น